JK Law Service

Work Permit & Visa

ต่ออายุวีซ่า (Visa) รวมถึงบริการเปลี่ยนประเภทวีซ่าให้กับชาวต่างชาติ เรามุ่งมั่นที่จะให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและใส่ใจในทุกรายละเอียดของการทำงาน.

Harness Your Social Proof

รับทำวีซ่า

ถ้าหากท่านกำลังมองหาการให้บริการด้านการรับทำวีซ่า (Visa) เรามีทีมงานมืออาชีพที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญด้านการขอวีซ่า (Visa) โดยตรงไม่ว่าจะเป็น

  • วีซ่าทำงาน (Non-Immigrant Visa B/Non-B)
  • วีซ่าติดตามครอบครัว (Non-Immigrant Visa O/Non-O)
  • วีซ่าแต่งงาน (Non-Immigrant Visa O/Non-O )
  • วีซ่านักศึกษา (Non-Immigrant Visa ED/Non-ED )
  • การต่อวีซ่า (Visa Extension)
New Marketing Leaders
Kornkanok Jiarswasdiwattana

Legal Consultant Expert

ยินดีให้บริการด้วยความเชี่ยวชาญมากกว่า 10 ปี..

รับ outsource ตำแหน่ง DPO ตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริการประเภทที่รับทำวีซ่า

รับทำวีซ่า (Visa) (ภายในราชอาณาจักรไทย)

  1. บริการรับขอวีซ่าทำงาน – Non-Immigrant Visa B (Non-B)
  2. บริการรับต่อวีซ่าทำงาน – Non-Immigrant Visa B (Non-B)
  3. บริการรับขอวีซ่าติดตามครอบครัว – Non-Immigrant Visa O (Non-O) Family/Follower
  4. บริการรับต่อวีซ่าติดตามครอบครัว – Non-Immigrant Visa O (Non-O) Family/Follower
  5. บริการรับขอวีซ่าแต่งงาน – Non-Immigrant Visa O (Non-O)  Thai Spouse
  6. บริการรับต่อวีซ่าแต่งงาน – Non-Immigrant Visa O (Non-O)  Thai Spouse
  7. บริการรับขอวีซ่ากรณีเป็นครู อาจารย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญในสถานการศึกษา – Non-Immigrant Visa B (Non-B) Teacher
  8. บริการรับต่อวีซ่ากรณีเป็นครู อาจารย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญในสถานการศึกษา – Non-Immigrant Visa B (Non-B) Teacher
  9. บริการรับขอวีซ่านักศึกษา – Non-Immigrant Visa ED (Non-ED)
  10. บริการรับต่อวีซ่านักศึกษา – Non-Immigrant Visa ED (Non-ED)
  11. บริการรับขอวีซ่าบั้นปลาย – Non-Immigrant Visa OA Long stay (Non-OA)
  12. บริการรับต่อวีซ่าบั้นปลาย – Non-Immigrant Visa OA Long stay (Non-OA)
  13. บริการดำเนินการทำเรื่องขอเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทย (Re-Entry Permit)
    -Single  (ครั้งเดียว ภายใน 1 ปี)
    -Multiple (หลายครั้ง ภายใน 1 ปี)
  14. บริการรับแจ้งอยู่เกิน 90 วัน – Report 90 days
  15. บริการย้ายตราประทับวีซ่าเข้าหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (Transfer Stamp to new Passport)
  16. บริการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราหรือเปลี่ยนประเภทวีซ่า (Visa changing)– รับเปลี่ยนวีซ่าจากวีซ่าท่องเที่ยว เป็นวีซ่าทำงาน Non-B
  •  รับเปลี่ยนวีซ่าจากวีซ่าท่องเที่ยว เป็นวีซ่าทำงาน Non-O
  •  รับเปลี่ยนวีซ่าจาก ผ.30 เป็นวีซ่าทำงาน Non-B
  •  รับเปลี่ยนวีซ่าจาก ผ.30 เป็นวีซ่าทำงาน Non-O
  •  รับเปลี่ยนวีซ่าจาก ผผ.30 เป็นวีซ่า Non-B
  •  รับเปลี่ยนวีซ่าจาก ผผ.30 เป็นวีซ่า Non-O
  •  รับเปลี่ยนวีซ่าจาก ผผ.90 เป็นวีซ่า Non-B
  •  รับเปลี่ยนวีซ่าจาก ผผ.90 เป็นวีซ่า Non-O
  •  รับเปลี่ยนวีซ่าจาก Transit Visa เป็นวีซ่าทำงาน Non-B
  •  รับเปลี่ยนวีซ่าจาก Transit Visa เป็นวีซ่าทำงาน Non-O

ข้อมูลประเภทวีซ่า

1. วีซ่า Non-B (ประเภทคนอยู่ชั่วคราว) ใช้สำหรับประกอบธุรกิจ และการทำงาน
2. วีซ่า Non-O (ประเภทคนอยู่ชั่วคราว) ใช้สำหรับการติดตามภรรยาหรือสามีคนไทย (Thai Spouse)
3. วีซ่า Non-O (ประเภทคนอยู่ชั่วคราว) ใช้สำหรับกรณีการเข้ามาในฐานะคู่สมรส, บุตร, บิดา หรือมารดาของผู้ได้สิทธิ์การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร, เกษียณอายุใช้ชีวิตบั้นปลาย (กรณีนี้ไม่สามารถทำงานได้)
4. วีซ่า Non-IB (ประเภทคนอยู่ชั่วคราว) ใช้สำหรับการลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
5. สมาร์ทวีซ่า (Smart Visa) ใช้สำหรับวีซ่าประเภทพิเศษที่กำหนดมาเพื่อดึงดูดบุคคลากรที่มีทักษะสูง
6. วีซ่า Non-ED (ประเภทคนอยู่ชั่วคราว) ใช้สำหรับการเข้ามาศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ

ขั้นตอนการขอวีซ่าทำงาน Non-Immigrant Visa B

  1. การขอวีซ่า Non-Immigrant Visa B  มีอยู่ 2 วิธี คือ
    1.1  ยื่นขอวีซ่า Non-Immigrant Visa B (วีซ่าทำงาน) ที่สถานทูตหรือสถานกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
    1.2  ยื่นขอเปลี่ยนแปลงวีซ่าเป็นประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa B (วีซ่าทำงาน)
    กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
    – ในกรณีที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้ว โดยถือวีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist Visa) จะต้องยื่นขอเปลี่ยนแปลงวีซ่าเป็นประเภท Non-Immigrant Visa B (วีซ่าทำงาน) ก่อนวีซ่าหมดอายุอย่างน้อย 15 วัน
    หากวีซ่าหมดอายุแล้ว ชาวต่างชาติจะไม่สามารถยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงการตรวจลงตราวีซ่าเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa B/Non-B ได้
  2.  เมื่อได้วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa B/Non-B แล้ว (ปกติเจ้าหน้าที่จะให้ระยะเวลา พำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน)  ต้องดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ต่อกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
    – โดยเจ้าหน้าที่จะให้ใบอนุญาตทำงานเป็นระยะเวลาเท่าใดนั้น เจ้าหน้าที่จะพิจารณาอนุญาตให้ตามความจำเป็นของงานหรือตามที่ขอและขึ้นอยู่กับผลประกอบการของสถานที่ทำงานนั้น
    – โดยทั้งนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีต่อครั้ง ซึ่งปกติโดยทั่วไปเจ้าหน้าที่จะให้เป็นระยะเวลา 1 ปี
  3.  เมื่อได้ใบอนุญาตทำงาน ต้องดำเนินการยื่นขอต่อวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa B/Non-B ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ระยะเวลาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นระยะเวลา 1 ปี
    – โดยต้องยื่นวีซ่า 90 วันก่อนหมดอายุ
    ในกรณีที่ชาวต่างชาติยังไม่ได้เดินทางเข้ามาใประเทศไทย นายจ้างสามารถยื่นเรื่องขอใบอนุญาตทำงาน (ขอWork Permit) แทนลูกจ้างก่อนได้ แต่ลูกจ้างชาวต่างชาติต้องเข้ามาแสดงตัวและรับใบอนุญาตทำงาน ภายใน 30 วัน

หลังจากได้รับวีซ่าทำงาน Non-Immigrant Visa “B” (Non-B) 1 ปีแล้ว ชาวต่างชาติจะต้องไปรายงานตัวเพื่อแจ้งเกี่ยวกับที่พักอาศัยที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ทุกๆ 90 วัน

ในกรณีที่เดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนด เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ต้องไปรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไปเมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งสุดท้ายแม้วีซ่าทำงาน Non-Immigrant Visa B (Non-B) จะมีอายุ 1 ปี แต่ชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกแบบครั้งเดียว (Single-entry)

ควรพึงระวัง เพราะวีซ่าทำงาน Non-Immigrant Visa B (Non-B) ที่ได้นั้นจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติเมื่อผู้ถือวีซ่าเดินทางออกนอกประเทศไทย
⭐ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้วีซ่าถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ ผู้ถือวีซ่าจะต้องยื่นขอเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกครั้งที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประจำสนามบินหรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองท้องที่ก่อนเดินทางออกนอกประเทศไทย

การขอวีซ่า Non-Immigrant Visa O (Non-O)

การขอวีซ่า Non-Immigrant Visa O (Non-O) ในประเทศไทยเหมาะสำหรับคนที่มีความเกี่ยวข้องกับครอบครัวไทย เช่น คู่สมรสที่เป็นคนไทย / บุตรเป็นคนไทย / บุตรบุญธรรม / บุตรของคู่สมรส เป็นต้น

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1.  กรณีคนต่างชาติสมรสกับหญิงไทย สามีชาวต่างชาติต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่า เดือนละ 40,000 บาท หรือเงินฝากในธนาคารในประเทศไทยคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือน ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบปี
  2.  กรณีคนต่างชาตินั้นเป็นบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา คนต่างชาติต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท หรือต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบ 1 ปี
  3.  กรณีคนต่างชาติเป็นบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรส อยู่ในความอุปการะบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรสและอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์
  4.  มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างชาติกับบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
  5.  กรณีเป็นคู่สมรสนั้นต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย

ขั้นตอนการขอวีซ่า Non-Immigrant Visa “O” (Non-O)
กรณีเป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติไทย

    1. ในการยื่นขอวีซ่า Non-Immigrant Visa O (Non-O) นั้นมีอยู่ 2 วิธีด้วยกันดังนี้ คือ
      1.1 ยื่นขอวีซ่า Non-Immigrant Visa O (Non-O) ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศของชาวต่างชาติ
      1.2 ยื่นขอเปลี่ยนแปลงเป็นวีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa O (Non-O)
      กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในกรณีที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้ว
      – หากถือวีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist Visa) ต้องยื่นขอเปลี่ยนแปลงวีซ่าเป็นประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa O (Non-O) ก่อนวีซ่าหมดอายุอย่างน้อย 15 วัน
      – กรณีที่วีซ่าหมดอายุแล้ว ชาวต่างชาติจะไม่สามารถยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงวีซ่าเป็นประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa O (Non-O) ได้
    2.  เมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลงวีซ่าเป็นประเภทคนอยู่ชั่วคราว Non-Immigrant Visa O (Non-O) แล้ว
      เจ้าหน้าที่จะให้ระยะเวลาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นระยะเวลา 90 วัน
    3. เมื่อได้ Non-Immigrant Visa O ระยะเวลา 90 วันแล้ว คนต่างชาติจะต้องดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่เพื่อต่อระยะเวลาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรเป็น 1 ปี
      – โดยต้องยื่นขอต่อวีซ่า Non-Immigrant Visa O (Non-O) เป็นระยะเวลา 1 ปี
      *** ก่อนวีซ่ารอบแรกที่มีอายุ 90 วันหมดอายุ

    หมายเหตุ:

    1. ทั้งนี้ผู้ยื่นคำขอ และบุตร/ภรรยา/สามีผู้มีสัญชาติไทย ต้องไปแสดงตัวด้วยตนเองเพื่อให้ปากคำ
    2. ในกรณีที่เป็นการติดตามคนต่างด้าวซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชอาณาจักร คนต่างด้าวผู้มาปฏิบัติงานในราชอาณาจักรต้องได้ Non-Immigrant Visa O เป็นระยะเวลา 1 ปีเรียบร้อยแล้ว

หลักเกณฑ์ในการขอวีซ่าเกษียณอายุ Non-Immigrant Visa O
(Non-OA) และ (Non-OX)

  1. คนต่างชาติที่ต้องการขอวีซ่าต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  2. มีวีซ่าเกษียณอายุ Non-Immigrant Visa O (Non-O) อายุ 90 วัน และพำนักอาศัยในประเทศไทยมาแล้วเป็นระยะเวลา 60 วัน
  3. ในกรณี Non-OA คนต่างชาติจะต้องมี
    💸 เงินรายได้/เงินเกษียณอายุ เดือนละ 65,000 บาท เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือน
    💸 เงินฝาก-เงินบำนาญรวมกันปีละ 800,000 บาท เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน
    💸 กรณี Non-OX คนต่างชาติจะต้องมีเงินรายได้/เงินเกษียณอายุเดือนละ 100,000 บาทเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือน
    💸 เงินฝาก-เงินบำนาญ รวมกันปีละ 3,000,000 บาท เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน
    โดยทั้งนี้ต้องมีเอกสารหลักฐานแสดงการมีเงินได้จากธนาคารในประเทศไทย เช่น สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร หรือสมุดบัญชีเงินฝาก
  4. คนต่างชาติต้องมีการประกันสุขภาพ
  5. คนต่างชาติที่ได้วีซ่าเกษียณอายุจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานทุกประเภทในประเทศไทย
  6. การยื่นต่อวีซ่า สามารถยื่นล่วงหน้าก่อนวีซ่าหมดอายุได้อย่างน้อย 21 วัน

หลังจากได้รับวีซ่า Non-Immigrant Visa O (Non-O) 1 ปีแล้ว ชาวต่างชาติจะต้องไปรายงานตัวเพื่อแจ้งเกี่ยวกับที่พักอาศัยที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ ทุก ๆ 90 วัน ในกรณีที่คนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้ไปรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไป เมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งสุดท้าย

บริการรับขอวีซ่า (VISA)

สำหรับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาประเทศไทย

  • การยื่นขอวีซ่า (Apply for Visa)
  • ต่ออายุวีซ่า (Visa Extension)
  • ขอใบอนุญาตทำงาน (Apply  for Work- permit)
  • ต่อใบอนุญาตทำงาน (Work Permit extension)
  • เปลี่ยนประเภทวีซ่า หรือ เปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (Visa Changing ) ให้กับชาวต่างชาติ
Kornkanok Jiarswasdiwattana
Legal Consultant Expert

By submitting my data I agree to be contacted