บริการจดเครื่องหมายการค้า
ขั้นตอน
1.ตรวจสอบความเหมือนคล้าย
2.จัดทำเอกสารและยื่นจดทะเบียน
3.ทางราชการตรวจสอบและออกหนังสือสำคัญการจดทะเบียนประมาณ 6-15 เดือน
ข้อมูล
1.ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ผู้ขอจดทะเบียน
2.ภาพเครื่องหมายการค้า
3.รายการสินค้า/บริการ
เอกสาร
1.หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดทำให้)
2.รับรองสำเนาบัตร ประชาชน (กรณีบุคคลธรรมดา)
3.รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัท (กรณีบริษัท) บัตรกรรมการไม่ใช้
คำถามที่พบบ่อย
1.ยื่นจดทะเบียนแล้วต้องรออนุมัติก่อนถึงจะใช้เครื่องหมายได้ใช่หรือไม่
ตอบ : ไม่ใช่ ยื่นจดทะเบียนและได้เลขคำขอแล้วสามารถนำไปใช้ได้เลย
2.จดทะเบียนในนามบุคคลหรือบริษัท อันไหนดีกว่ากัน
ตอบ : ถ้ามีบริษัทแนะนำให้ยื่นในนามบริษัทเลย เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีหุ้นส่วนหลายคนในบริษัท และ ไม่อยากให้มาเกี่ยวข้องกับความเป็นเจ้าของเครื่องหมาย
3.จดเครื่องหมายการค้าต้องเสียภาษีหรือไม่
ตอบ : ไม่เสีย ภาษีขึ้นอยู่กับรายได้ หากมีรายได้ก็ต้องยื่นภาษีปกติ
4.จดเครื่องหมายการค้าเป็นเจ้าของได้กี่คน
ตอบ : ได้หลายคน เช่น คน+คน หรือ คน+บริษัท หรือ บริษัท+บริษัท
5.ทำไมจดเครื่องหมายการค้าใช้เวลานาน
ตอบ : คำขอมีปริมาณมาก เช่น คำขอยื่นวันละ 100 คำขอ แต่ผู้ตรวจสอบมีจำกัดกว่าจะถึงคิวตรวจของเราก็ต้องใช้เวลานานถึง 8 เดือน
เครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามและไม่สามารถจดทะเบียนได้
1.เครื่องหมายติดบ่งเฉพาะ (ไม่มีเอกลักษณ์ที่พิเศษ)
1.1 ชื่อที่สื่อถึงสินค้า เช่น Apple จดทะเบียนใช้กับ ผลไม้แอปเปิ้ล หรือ ร้านขายแอปเปิ้ลจะ จดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากสื่อถึงสินค้า การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า Apple กฎหมายจะไม่ให้จดทะเบียน หากจดทะเบียนใช้กับ โทรศัพท์ แบบนี้สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากไม่ถือเป็นการผูกขาด
1.2 ชื่อที่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า เช่น ละอองเย็น/laong yen จดทะเบียนใช้กับ สเปร์ยฉีดตัว จะจดทะเบียนไม่ผ่านเนื่องจากสื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า ละอองเย็น/laong yen กฎหมายจะไม่ให้จดทะเบียน หากจดทะเบียนใช้กับ โทรศัพท์ แบบนี้สามารถจดทะเบียนได้เนื่องจากไม่ถือเป็นการผูกขาด
ชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 ก็อาจจะเป็นคำที่พ้องเสียงได้ด้วย เช่น SHA TAI สื่อถึง ชาไทย การจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า ชาไทย ผู้ตรวจสอบสามารถมีคำสั่งออกมาไม่ให้จดทะเบียนได้
ชื่อเครื่องหมายตาม 1.1, 1.2 หากมีการผสมคำ แต่คำที่นำมาผสมไม่ใช่สาระสำคัญ เช่น Apple Thai, Super Apple, The Apple, Apple Plus, Apple Restaurant, คำที่นำมาผสมจะไม่ถูกนำเป็นสาระสำคัญในการตรวจสอบ เนื่องจากเป็นคำทั่วไป และ มาเสริมคำว่า Apple ให้โดดเด่นขึ้นไปอีก ดังนั้นจะเหลือแต่คำว่า Apple ที่เป็นสาระสำคัญการจดทะเบียนลักษณะนี้เป็นการผูกขาดการใช้คำว่า Apple
(เว้นแต่ชื่อ/ข้อความตาม 1.1-1.2 ต้องมีคำ หรือ ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2) หรือ เช่น ข้อความตาม 1.1-1.2 + ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญ หากภาพโลโก้ไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิข้อความตาม 1.1-1.2)
1.3 ตัวอักษร 1 ตัว 2 ตัว 3 ตัว ที่ไม่มีความหมาย ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษ เหตุผลที่บังคับให้ประดิษฐ์ตัวอักษรเพราะการจดทะเบียนจะได้ตัวอักษร+ที่มีการประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษ เพราะมิฉะนั้นจะเหมือนว่าเราเอาตัวอักษรโรมันธรรมดามาจดทะเบียน ซึ่งหลักการแนวนี้ใช้กับทุกภาษา
เช่น ตัวอักษรตัวเดียว A ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
เช่น ตัวอักษรสองตัว AF ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
เช่น ตัวอักษรสามตัว AFS ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษถึงจะจดทะเบียนผ่าน
(เว้นแต่ตัวอักษรตาม 1.3 หากไม่ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรให้มีลักษณะพิเศษ ต้องมีคำ หรือ ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบ เช่น ตัวอักษรตาม 1.3 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิตัวอักษรตาม 1.3 หรือ เช่น ตัวอักษรตาม 1.3 + ภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญ หากภาพโลโก้ไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิตัวอักษรตาม 1.3
2.เครื่องหมายติดเหมือนหรือคล้าย ต้องครบองค์ประกอบดังนี้
2.1 พ้องเสียง เช่น Manee, Marni, Marnie, MaaNii กลุ่มคำเหล่านี้ถือว่าพ้องเสียง
2.2 พ้องรูป เช่น มีรูปคล้ายคลึงกัน เช่น รูปนก ที่คล้ายๆ กัน
การพ้องเสียงหรือพ้องรูปตาม 2.1 และ 2.2 จะต้องคู่กับ รายการสินค้าที่อยู่จำพวก เดียวกันและคล้ายกันด้วย
เช่น Manee สินค้า เสื้อ และ Marni สินค้า รองเท้า ถือว่า คล้ายกันและจดทะเบียนไม่ผ่าน เนื่องจาก Manee และ Marni พ้องเสียง เสื้อ และ รองเท้า อยู่จำพวก 25 กลุ่ม เสื้อผ้าเหมือนกัน
หาก เช่น Manee สินค้า เสื้อ และ Marni สินค้า ปุ๋ยเคมี แม้จะพ้องเสียงคล้ายกันแต่คนละจำพวกถือว่าจดทะเบียนได้ เนื่องจาก การทำธุรกิจของ Marni สินค้า ปุ๋ยเคมี ไม่กระทบกระเทือนธุรกิจ Manee สินค้า เสื้อ
เครื่องหมายการค้าที่ติดเหมือนคล้ายหรือติดพ้องเสียงกัน เช่น Manee กับ Mani หากนำภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบกับ Mani ก็ถือว่าติดเหมือนคล้ายกัน เพราะ
1.พ้องเสียง
2.พ้องรูป
3.รายการสินค้า/บริการ
คือถือว่าติดเหมือนคล้ายกันเพราะติด 2 ใน 3 คือติดพ้องเสียง+รายการสินค้า/บริการ
สรุป พ้องเสียง พ้องรูป ต้องจับคู่กับ รายการสินค้าที่อยู่จำพวกเดียวกันและคล้ายกันด้วยถึงจะถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นเหมือนหรือคล้ายกัน
2.3 ข้อยกเว้นชื่อพ้องเสียง ที่สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้
เช่น ตัวอักษรตัวเดียว A สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้ แต่ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษรให้แตกต่างกัน
เช่น ตัวอักษรสองตัว AF มีสองแนว คือ สามารถจดทะเบียนซ้ำกันได้แต่ต้องทำการประดิษฐ์ตัวอักษร และ บางครั้งก็มีคำสั่งว่าติดเหมือนคล้าย
ถ้าเป็น ตัวอักษรสามตัว AFS แม้จะมีการออกแบบที่แตกต่างกันแต่ก็จดทะเบียนซ้ำกันไม่ได้ เพราะตัวอักษรสามตัวถือว่ามีเอกลักษณ์สูง
3.เครื่องหมายการค้าที่นำภาพที่เป็นเลขาคณิตทั่วไป/หรือภาพเสมือนจริง มาจดทะเบียนใช้กับสินค้าประเภทนั้น และ ภาพนั้นไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.1 ภาพรวงข้าวเสมือนจริง ใช้กับ ข้าว จดทะเบียนไม่ผ่าน เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.2 ภาพรถยนต์เสมือนจริง ใช้กับอะไหล่ น้ำยาขัดรถยนต์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.3 ภาพผลไม้เสมือนจริง ใช้กับน้ำผลไม้ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.4 ภาพสัตว์เสมือนจริง ใช้กับ น้ำยาสระขนสัตว์ อาหารสัตว์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.5 ภาพโทรศัพท์เสมือนจริง ใช้กับ โทรศัพท์ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.6 ภาพกุ๊กเสมือนจริง ใช้กับ อาหาร ร้านอาหาร เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
3.7 รูปหัวใจเลขาคณิต ใช้กับยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น ที่ไม่ได้มีการประดิษฐ์เพียงพอ
เป็นต้น
(เว้นแต่ภาพตาม 3.1-3.7 ต้องมีคำมาประกอบ เช่น ภาพตาม 3.1-3.7 + คำว่า นายฮ้อย ถ้าคำว่านายฮ้อยไม่ซ้ำ กฎหมายจะอนุญาตให้จดทะเบียน และ ทำการสละสิทธิภาพตาม 3.1-3.7)
4.เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนโดยไม่สุจริต
เช่น นำคำว่า Honda หรือ นำเอาเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่ไปจดทะเบียนไว้แล้ว (ลอกมา 100 %) ไปจดทะเบียนในอีกจำพวกหนึ่งที่แตกต่างกัน เช่น นำคำว่า Honda ไปจดทะเบียนใช้กับ ปุ๋ยเคมี ซึ่งไม่กระทบธุรกิจการขายรถยนต์ของ Honda แต่การกระทำนี้ถือว่าไม่สุจริต กฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง หรือ Starbuck กับ Starbung ไม่ได้ทำให้ประชาชนสับสนหลงผิด แต่ถือว่าการกระทำนี้ไม่สุจริต กฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
4.1 เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย เช่น Honda หากลอกมาทั้งหมดหรือเลียนมา ถือว่าไม่สุจริตและกฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
4.2 เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีชื่อเสียงแพร่หลาย คือไม่โด่งดัง ต้องลอกมา 100 % เท่านั้น จะถือว่าไม่สุจริตและกฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครอง
5. เครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อกฎหมาย/ต้องห้ามไม่ให้รับจดทะเบียน
5.1 ชื่อทางภูมิศาสตร์ เช่น ชื่อประเทศ ชื่อจังหวัด ชื่อเมือง (2 แนว แนวที่ 1 มีในเครื่องหมายได้แต่ต้องทำการสละสิทธิ / แนวที่ 2 มีไม่ได้เลย เช่น paris)
5.2 ธงชาติ (มีไม่ได้เด็ดขาด เช่น honda+ธงชาติ จะจดไม่ผ่านต้องตัดออก)
5.3 ชื่อดารา หรือ คนที่มีชื่อเสียงโด่งดัง (มีไม่ได้เลย)
5.4.ชื่อที่ไม่สุภาพ / ลามก (มีไม่ได้เลย)
5.5 ชื่อที่ไปเกี่ยวข้องกับ ราชวงศ์ หรือ ชื่อทางราชการ องค์กรต่างๆ (มีไม่ได้เลย)
5.6 ชื่อเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) และ เป็นคำประดิษฐ์ เช่น Honda (มีไม่ได้เลย)
เป็นต้น
6. เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) แบ่งดังนี้
6.1 เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) ที่ไม่ใช่คำประดิษฐ์ เช่น Apple(iphone)
สามารถใช้ซ้ำกันได้ แต่ต้องอยู่คนละรายการสินค้า และ ต้องไม่ใช้การลอกแบบมาจดทะเบียน เช่น นำคำว่า apply มาจดทะเบียนใช้กับสินค้า เครื่องดนตรี สามารถยื่นจดทะเบียนได้
6.2 เครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลาย (well know Trademark) ที่เป็นคำประดิษฐ์ขึ้น ไม่มีในพจนานุกรม เช่น Starbuck, Pepsi
ไม่สามารถใช้ซ้ำกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรายการสินค้าไหนก็ตาม เช่น นำคำว่า Pepsi มาจดทะเบียนใช้กับสินค้า เครื่องดนตรี จะไม่สามารถยื่นจดทะเบียนได้ เป็นต้น
5 เคล็ดลับคิดชื่อแบรนด์ใหม่ให้ปัง! รับทรัพย์ปี 2564
1.ชื่อไม่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า เช่น SKINKARE สื่อถึงการดูแลผิวพรรณถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ตามกฎหมายจะจดทะเบียนไม่ผ่าน เนื่องจากเป็นการผูกขาดการใช้คำว่า SKINCARE (SKINKARE คือคำพ้องเสียง SKINCARE)
2.ชื่อที่ไม่สื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า แต่พอจะสัมผัสถึงความเข้าใจได้และให้ความรู้สึกไปถึงได้ เช่น SKINOXY ใช้กับเครื่องสำอาง เช่น JUSTOX ใช้กับอาหารเสริม พวกเครื่องดื่ม เป็นลักษณะของการผสมคำ SKIN+OXY, JUS+TOX
3.ชื่อควรจะดูแพง เพื่อสร้างมูลค่าของสินค้า และ ความน่าสนใจ เช่น อาจจะเอาคำที่เป็นความรู้สึกของสถานที่หรือสินค้าประเภทหนึ่งมาผสมกัน เช่น คำว่า MAGAERA มาจาก MAGA (ใหญ่) + ERA (สมัย) เช่น คำว่า FASTKET มาจาก FAST (เร็ว) + KET (Market สื่อถึงตลาด) เช่น คำว่า FITDEMY มาจาก FIT(แน่น แข็งแรง) + DEMY (academy สื่อถึงโรงเรียน, สำนัก)
4.ชื่อไม่ควรไปเลียนแบบชื่อของบุคคลอื่นหรือไปให้ความรู้สึกเดียวกัน เพราะจะถูกมองในแง่ลบ เช่น RUDEDOG ใช้กับเสื้อผ้า แต่มาจดทะเบียน RUDECAT ใช้กับเสื้อผ้า อาจจะดูน่าสนใจในครั้งแรกแต่ในระยะยาวจะถูกมองว่าเป็นการเลียนแบบ (ไม่เสมอไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง)
5.การใช้สีในเครื่องหมาย ให้เหมาะกับตนเอง และ สินค้า เช่น ขนมไม่ควรใช้กล่องสีดำ เป็นต้น
การจดแจ้งลิขสิทธิ์ และ งานอันมีลิขสิทธิ์
อะไรที่จดได้ เช่น
1.ภาพลวดลายกล่องสินค้าที่สร้างสรรค์ จดได้ ถ้าลวดลายปกติ เช่น แถบสีคาดไปมา ลวดลายปกติอาจจะมีความแตกต่างก็จริง แต่ไม่ใช่งานสร้างสรรค์จดแจ้งลิขสิทธิ์ไม่ได้
2.ภาพการ์ตูน จดได้
3.งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้ซอสโค้ดจดแจ้งได้
4.งานหนังสือ งานเขียน ต่างๆ จดได้
5.ภาพงานประติมากรรม เช่น พระพิฆเนศที่สร้างสรรค์ใหม่ จดได้
ขั้นตอน 1.ยื่นจดแจ้งและรอการพิจารณาอนุมัติ ประมาณ 1-2 เดือน
ข้อมูล
1. ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์ อีเมล ผู้ขอจดแจ้ง
2. ชื่อผลงาน
3. ภาพผลงาน เนื้อหา 5 หน้าแรก 5 หน้าสุดท้าย /ภาพถ่ายสินค้า / ซอสโค้ด 5 หน้าแรก 5 หน้าสุดท้าย เป็นต้น
4. วัน เดือน ปีที่สร้างสรรค์
เอกสาร
1.หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดทำให้)
2.กรณีบริษัท : รับรองสำเนาหนังสือรับรองบริษัทฉบับจริงออกไม่เกิน 6 เดือน และ สำเนาบัตรกรรมการ
3.กรณีบุคคลธรรมดา : รับรองสำเนาบัตร ปชช
บุคคลธรรมดา ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันที่เสียชีวิต (แนะนำ)
นิติบุคคล ลิขสิทธิ์คุ้มครอง 50 ปีนับจากวันสร้างสรรค์
สาระน่ารู้เกี่ยวกับการจดเครื่องหมายการค้า
1.การต่ออายุการจดเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายที่จดทะเบียนแล้วจะมีอายุการคุ้มครองสิบปีนับแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และ ต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี โดยสามารถยื่นคำขอได้ก่อนหมดอายุภายใน 3 เดือน หรือ ภายใน 6 เดือนหลังจากสิ้นอายุ หลังจากต่ออายุแล้วกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะส่งหนังสือสำคัญฉบับใหม่ให้ภายใน 3 เดือน
2.การขอถอนการจดเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายก่ารค้าที่ได้ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าไว้แล้วหรือได้รับการจดทะเบียนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วนั้น อาจร้องขอต่อนายทะเบียนให้ถอนคำขอจดเครื่องหมายการค้าในระหว่างที่คำขอจดทะเบียนยังไม่ได้รับอนุมัติ หรือเพิกถอนทะเบียนการจดเครื่องหมายการค้าหลังจากที่ได้รับอนุมัติแล้ว เหตุผลการถอนอาจมีหลายประการ เช่น เป็นเครื่องหมายที่ไปละเมิดเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น และ มีปัญหาเกี่ยวกับคดีความฟ้องร้อง ในกรณีที่มีการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ได้รับอนุญาตด้วย เว้นแต่สัญญาอนุญาตดังกล่าวจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
3.การรับจดเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดเครื่องหมายการค้าได้ ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1. เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 คือไม่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้า เช่น คำว่า Namhom จดทะเบียนใช้กับสินค้า น้ำหอม เป็นชื่อสื่อถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ตามกฎหมายจดทะเบียนไม่ผ่าน ตามมาตรา 7 แนะนำให้หาภาพโลโก้ที่มีสาระสำคัญมาประกอบเพื่อหลุดพ้น และ ทำการสละสิทธิไม่ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้คำว่า Namhom
2. เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8 คือเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบาย
3.ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้วตามมาตรา 13
4.การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลการจดเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าที่อยู่ระหว่างพิจารณาหรือที่ได้จดทะเบียนแล้ว อาจขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเรื่องดังต่อไปนี้ 4.1 เรื่องที่แก้ไขได้ คือที่ไม่ใช่สาระสำคัญของเครื่องหมาย ยกเลิกรายการสินค้าบางอย่าง แก้่ไขชื่อ แก้ไขสัญชาติ แก้ไขที่อยู่ แก้ไขอาชีพของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวแทน แก้ไขสำนักงานหรือสถานที่ที่สามารถติดต่อได้ในประเทศไทย ยกเลิกตัวแทน ตั้งหรือเปลี่ยนตัวแทนใหม่ แก้ไขสัญชาติ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย
4.2 เรื่องที่แก้ไขไม่ได้ คือที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย เช่น แก้ภาพเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไปแล้ว แก้ไขรายการสินค้าใหม่ เพิ่มเติมรายการสินค้าใหม่
5.การโอนหรือรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิในเครื่องหมายการค้าย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ ดังนี้ 5.1 โอนเครื่องหมายการค้าที่อยู่ระหว่างการพิจารณา
5.2 โอนเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว
การโอนหรือการรับมรดกเครื่องหมายการค้าต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
6.การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ในกรณีที่เครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนไว้แล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นอาจอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนของตนได้ 6.1 อนุญาตเฉพาะสินค้าที่ได้จดเครื่องหมายการค้าไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้
6.2 อนุญาตตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้
6.3 สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจะมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
7.การจดเครื่องหมายการค้าตามพิธีสารมาดริด (MADRID PROTOCOL) พิธีสารมาดริดเป็นระบบยื่นคำขอจดเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการกระจายคำขอจดเครื่องหมายการค้าไปยังประเทศต่างๆที่เป็นภาคีพิธีสารมาดริด เป็นการยื่นจดทะเบียน 1 คำขอในประเทศไทย (คำขอพื้นฐาน) แต่เลือกประเทศที่จะขอความคุ้มครองเพิ่มเติม ซึ่งจะมีราคาที่ประหยัด และ เป็นระบบทะเบียนเดียวคุ้มครองหลายประเทศ
เครื่องหมายการค้า
4,900 บาท
สิทธิบัตร
6,900 บาท
ลิขสิทธิ์
3,900 บาท